ความเป็นมาของการส่งกระจายเสียงระบบ เอ.เอ็ม.และ เอฟ.เอ็ม.
๑. ระบบ เอ.เอ็ม.ความถี่ ๑๓๙๕ กิโลเฮิร์ทซ กำลังส่ง ๑๐ กิโลวัตต์
ได้ประกอบพิธีเปิดการส่งกระจายเสียงครั้งแรก
เป็นทางการ เมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๑๖ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๓๘ คณะกรรมการบริหารวิทยุ ตามที่ได้เปิดการส่งกระจายเสียงทางระบบ เอ.เอ็ม.มาแล้วนั้น ปรากฎว่าได้ผล ปจว.และปชส.เป็นที่สนใจของ ประชาชนส่วน ใหญ่ สามารถลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับ ข้าราชการได้เป็นอย่างดี กับมีผลด้านผู้หลงผิดที่เข้าไปเป็นแนวร่วมกับ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ กลับใจเข้ามามอบตัวต่อทางราชการมากขึ้นเป็นลำดับต่อมาทางราชการ เมื่อ ๒๗ พ.ย. ๒๕๒๐ พลเอกเจริญ พงษ์พานิช ประธานคณะเสนาธิการ กรป.กลาง สมัยนั้น พร้อมด้วยคณะฝ่ายอำนวยการ ได้เดินทางออกตรวจเยี่ยมหน่วยสนาม ซึ่งขณะนั้น พ.อ.อุทัย กรัพณานนท์ ปฏิบัติหน้าที่ หน.วส.๙๑๔ฯ ได้ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปผลการดำเนิน งาน ประธานคณะ เสธ.ฯ ได้ทราบถึงผลด้าน ปจว.ต่อชุมชนในพื้นที่ ทำให้ประชาชนสนใจและมีความเข้าใจในเจตนาของรัฐบาลเป็น อย่างดี จึงได้ตกลงใจอนุมัติหลักการด้วยวาจาให้เพิ่มการกระจายเสียงทาง เอฟ.เอ็ม.ขึ้นอีก ๑ ความถี่ เพื่อจะได้เป็นการเสริมการ ปฏิบัติการด้าน ปจว.และ ปชส.ต่อประชาชนในพื้นที่ให้กว้างไกลออกไปอีก จากนั้น วส.๙๑๔ฯ ได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน และสามารถส่งกระจายเสียงได้ตามลำดับ ดังนี้
๒.๑ เริ่มทดลองออกอากาศ
เอฟ.เอ็ม. ด้วยเครื่องส่ง
๑๐๐ วัตต์ ความถี่ ๙๙.๕
MHz. ๑
ส.ค.๒๐
เนื่องด้วยชาวไทยภูเขาที่อาศัยในพื้นที่ให้ความสนใจรับฟังรายการ
จากทางสถานีวิทยุ๙๑๔ฯ
ในสมัยนั้น ได้ดำเนินการขออนุมัติ
เพิ่มภาษาไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย เพื่อจัดทำรายการให้มากขึ้นเป็น
๙ ภาษา ด้วยความถี่ ๑๑๗๙
KHz. กำลังส่ง ๑๐
กิโลวัตต์ เริ่มตั้งแต่ วันที่ ๒๙ มิถุนายน
๒๕๒๙ เป็นต้นมา เรียกว่า ระบบ เอ.เอ็ม.ภาคพิเศษ จัดทำรายการเป็นภาษาไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย รวม ๙ ภาษาคือ
๑. ภาษาม้ง (แม้ว)
๒. ภาษาลาหู่ (มูเซอ) ๓. ภาษา
ปาเก้อญอ
(ยาง/กะเหรี่ยง
๔. ภาษาอาข่า (อีก้อ/ อาข่า)
๕. ภาษาลีซู (ลีซอ)
๖. ภาษา อิ้วเมี่ยน (เย้า) ๗. ภาษาไทยใหญ่ (ไต)
ระบบการส่งกระจายเสียง - ระบบ A.M.ภาคปกติ ความถี่ ๑๓๙๕ KHz. กำลังส่ง ๑๐ KW. รัศมีการรับฟัง ๑๐๐ กิโลเมตร- ระบบ A.M.ภาคพิเศษ ความถี่ ๑๑๗๙ KHz. กำลังส่ง ๑๐ KW. รัศมีการรับฟัง ๑๐๐ กิโลเมตร - ระบบ F.M.stereo Multiplex ความถี่ ๑๐๐.๒๕ MHz. กำลังส่ง ๕ KW. รัศมีการรับฟัง ๑๓๐ กิโลเมตร เวลาทำการส่งกระจายเสียง - ระบบ A.M.ปกติ ส่งกระจายเสียง ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๕๐๐ - ๒๒๐๐ น. รวม ๑๗ ชั่วโมง เว้น วันเสาร์ อาทิตย์ หยุด ช่วงเวลา ๑๔๐๐ - ๑๖๐๐ น. - ระบบ A.M.ภาคพิเศษ ส่งกระจายเสียงทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๕๐๐ - ๑๘๐๐ น. รวม ๑๓ ชั่วโมง - ระบบ F.M.ส่งกระจายเสียง ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๔๓๐ - ๒๔๐๐ น. รวม ๑๙.๓๐ ชั่วโมง
ห้องส่งและอุปกรณ์การกระจายเสียง - ห้องผลิตรายการแบบ STEREO ๒ ห้อง - ห้องผลิตรายการแบบ MONO ๑ ห้อง-เครื่องส่งระบบ A.M. ๓ เครื่อง - เครื่องส่งระบบ F.M. ๒ เครื่อง
|